แบบอย่าง……แห่งความรัก

“ความเป็นบิดาของนักบุญโยเซฟ แสดงให้เห็นถึงความรักอันอ่อนหวานของพระเจ้า
(Joseph’s paternity reflects God’s tender love)”

การแสดงออกซึ่งความอ่อนโยนของความรักที่เราทุกคนในครอบครัวโรงเรียนเซนต์โยเซฟนครสวรรค์ และผู้อ่าน สามารถนำมาเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิตในการปฏิบัติต่อบุคคลอื่น ดังคุณธรรมของนักบุญยอแซฟ จากชื่อ “JOSEPH” ของท่าน

J: Justice หมายถึง ความยุติธรรม
     การปฏิบัติต่อผู้อื่นด้วยความถูกต้องตามศีลธรรมบนพื้นฐานของจริยธรรมและความสมเหตุสมผล ปราศจากอคติ หรือความลำเอียง

O: Obedience หมายถึง ความนอบน้อมเชื่อฟัง
     การเชื่อฟังบิดามารดา ครูอาจารย์ ด้วยความเคารพอย่างสูง จะนำพาความเจริญรุ่งเรืองและความสำเร็จมาสู่ชีวิตทั้งของตนเองและสนับสนุนความสำเร็จในชีวิตของผู้ที่เราใกล้ชิด เกี่ยวข้อง

S: Silence หมายถึง ความเงียบ
     ความเงียบเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นสำหรับการเรียนรู้ ความมีสติ นำพาให้ตัวเราสามารถไตร่ตรองในทุกการกระทำที่มีต่อผู้อื่นด้วยความเข้าใจที่แท้จริง

E: Experience หมายถึง ความสันทัดจัดเจน
     เราต้องเรียนรู้ด้วยการกระทำ เพื่อเราจะได้มีประสบการณ์และทักษะที่เป็นเลิศในชีวิตใช้พรสวรรค์และความสามารถช่วยเหลือ สร้างประโยชน์แก่ผู้อื่นและส่วนรวม

P: Prudence หมายถึง ความฉลาดรอบคอบ
     เราควรมีวินัยในตนเองด้วยการรู้จักใช้เหตุผล เพื่อหลีกเลี่ยงสิ่งที่น่าละอายและเป็นทุกข์ และแสดงให้เห็นถึงไหวพริบปฏิภาณและการตัดสินใจที่รอบคอบในทุกสถานการณ์กระทำต่อผู้อื่นด้วยความถูกต้อง

H: Humility หมายถึง ความสุภาพถ่อมตน
     ความสุภาพและเรียบง่ายในชีวิต เป็นอิสระจากความเย่อหยิ่งและทะนงตน มีจิตใจที่ถ่อมตน ตระหนักในคุณค่าของตนเองและผู้อื่น

ความอ่อนโยนแห่งความรักของพระเจ้า (The tenderness of God’s love)
    
ในความเป็นแบบอย่างของ ความเป็นบิดาจากนักบุญโยเซฟ และเปลี่ยนแปลงตนเองจากความอ่อนโยนของพระเจ้า เราทุกคนได้รับประสบการณ์ของความรู้สึกที่ได้รับความรัก และการต้อนรับอย่างมีคุณค่า ในความยากจนและในความทุกข์ยากของเรา และให้ความรักของพระเจ้าได้เปลี่ยนแปลงเรา

การแก้ไขข้อบกพร่อง (Redeemed weakness)
     เราทุกคนมีความอ่อนแอ ความเปราะบาง ข้อบกพร่องหรือความผิดพลาดที่เราได้กระทำ แต่หากเราได้รับความฝึกฝนในการให้อภัย และให้กำลังใจ เราจะได้สัมผัสกับความรักที่อ่อนโยน พร้อมเริ่มต้นใหม่กับทุกสิ่งและทุกคนเสมอ

“การมีขอบเขตหรือจุดยืนที่ชัดเจน (Healthy Boundary)”
     สำหรับอีกหนึ่งปัจจัยที่จะทำให้เราสามารถแสดงออกซึ่งความรักที่แท้จริงและยั่งยืน ที่อยากเชิญชวนทุกคนมารู้จัก “การมีขอบเขตหรือจุดยืนที่ชัดเจน (Healthy Boundary)” คือ การที่เราเลือกรับฟังความรู้สึกและความต้องการตัวเองอย่างซื่อสัตย์ว่า อะไรคือสิ่งที่เรารู้สึกพอใจ และอะไรคือสิ่งที่รู้สึกไม่พอใจ รวมถึงเราต้องการอะไร ทั้งแง่จิตใจและร่างกาย อะไรคือสิ่งที่เรายึดถือ แล้วจริงๆ อะไรคือสิ่งที่เราไม่ต้องการ สำคัญที่สุดคือการเคารพสิ่งที่หัวใจตัวเองบอกอย่างซื่อตรง

ความสัมพันธ์ที่ดีเกิดจากการมีขอบเขตและจุดยืนที่ชัดเจน ซึ่งมาจาก 2 องค์ประกอบ
หนึ่ง – การเคารพจุดยืนในตัวเอง และสอง – การเคารพจุดยืนอีกฝ่าย

จุดยืนที่ดีควรเป็นจุดยืนที่ไม่สุดโต่งไปฝั่งใดฝั่งหนึ่งเกินไป กล่าวคือ ไม่ใช่จุดยืนที่แข็งเกินไปโดยไม่ยืดหยุ่นปรับตามสถานการณ์ (Rigid Boundary) และก็ไม่ใช่จุดยืนที่อ่อนปวกเปียก (Loose Boundary) เพราะสิ่งเหล่านี้มักส่งผลให้เราและคนรอบข้างรู้สึกแย่ไปด้วย

ความสัมพันธ์ที่ดี คือ การที่เราทำให้อีกฝ่ายสามารถรักตัวเองได้มากขึ้นเวลาที่เขาอยู่กับเรา ซึ่งการไม่เคารพจุดยืนอีกฝ่ายไม่ได้ทำให้เขารักตัวเองมากขึ้นแน่นอน และนั่นมักไม่ใช่ความสัมพันธ์ที่ดี  (Unhealthy Relationship) การทำเช่นนี้ต่อเนื่องจะส่งผลต่อความรู้สึกภูมิใจในตัวเอง หรือ Self-Esteem หากเรารักและเคารพตัวเองมากพอ ผู้อื่นจะสามารถรับรู้ถึงความจริงใจและความรักที่เรามีให้เขาได้เช่นเดียวกัน

 “คุณธรรมแห่งการแสดงออกซึ่งความรักของท่านนักบุญโยเซฟ และการมีจุดยืนที่ชัดเจน เป็นสิ่งที่เรา ทุกคนสามารถนำไปปรับใช้ในการดำเนินชีวิตในทุกๆวันที่เราเผชิญกับผู้คน เหตุการณ์ อุปสรรคต่างๆ   ให้ผ่านพ้นได้อย่างมีความสุข ด้วยแบบอย่างแห่งความรักที่มีต่อตัวเองและผู้อื่นอย่างแท้จริง”

อ้างอิงบทความ

ข้อมูลจาก Facebook Nuphan Thasmalee – คุณพ่อนุพันธ์ุ ทัศมาลี พระสงฆ์สังฆมณฑลจันทบุรี

ชัค ชัชพงศ์ และ ณัฐวัตร์ สุพรรณ เรื่องและภาพ จากบทความ “ทำไมการมีจุดยืนที่ชัดเจนจึงสำคัญต่อการมีความสัมพันธ์ที่ดี ? (Healthy Boundary)

ขอขอบคุณบทความจาก

คุณครูเปลวเทียน อุบลคลี่

Message us